ข้อมูลโครงการวิจัย “พระไตรปิฎกฉบับแปลคำต่อคำกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สังคมโลก”

จากการที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้ให้ความกรุณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการการถ่ายทอดองคความรู้การการเผยแพร่พระไตรปิฎกฉบับแปลคาต่อคา (Word by Word Translation) ในรูปของพระไตรปิฎกฉบับแปลคาต่อคาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละ 45 เล่มโดยได้ให้การสนับสนุนี้เป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ระยะตั้งแต่ปีงบประมาณปี 2559 เป็นต้นมาจนถึงงบประมาณปี 2563

ซึ่งการสนับสนุนทุนดังกล่าวเป็นทุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย (เชิงชุมชน/สังคม) ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดยมีผู้ดำเนินการ ประกอบด้วยคณาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์และคฤหัสด์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครสวรรค์ และจากมหาวิทยาลัยทางพุทธศาสนาต่างๆในประเทศศรีลังการ่วมกันจัดทำ แปลพระไตรปิฎกแบบคาต่อคาและร่วมกั้นี้เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดในรูปของเอกสารคู่มือและในรูปของ E-bookสำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เป็นการสืบต่อโครงการกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ โดยได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ คือ

ประการที่ 1 เพื่อจัดทำการแปลพระไตรปิฎกแบบคาต่อคาที่เป็นภาษาอังกฤษให้กับฉบับที่ยังทำการไม่แล้วเสร็จอีก 22 เล่มเพื่อให้ได้ความรู้ที่จะถ่ายทอดครบถ้วน 45 เล่มโดยจัดทำ คู่มือประกอบการศึกษาและทำความเข้าใจทั้ง 45 เล่ม

ประการที่ 2 เพื่อจัดทำ กิจกรรมการถ่ายทอดจากงานวิจัยฉบับแปลคาต่อคาที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษในรูปของหลักสูตรระยะส้นที่นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรม ทั้งในรูปของกิจกรรม ณ สถานที่และกิจกรรมออนไลน์

ประการที่ 3 เพื่อสร้างเครือข่ายของการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับประเทศเพื่อนบ้านที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติและกับประเทศที่ส นใจในการเรียนรู้และเข้าใจภาษาที่ปรากฎในพระไตรปิฎกอย่างถ่องแท้ จากการเรียนรู้จากพระไตรปิฎกฉบับแปลคา ต่อคำ

จากการกำหนดวัตถุประสงค์ดังกล่าว ผลผลิตของโครงการจะประกอบด้วย

1) พระไตรปิฎกฉบับแปลคาต่อคาที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษครบอย่างละ 45 เล่มพร้อมด้วยคู่มือการเรียนรู้อีกอย่างละ 45 เล่ม

2) หลักสูตรระยะส้นที่เนื้อ หาคัดสรรจากพระไตรปิฎกฉบับแปลคาต่อคาในรูปของหลักสูตรพระไตรปิฎกศึกษาฉบับแปลคาต่อคาภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ครอบคลุมเวลาดำเนินกิจกรรมหลักสูตร 20 ชั่วโมง และ

3) ได้ฐานข้อมูลที่เป็นเครือข่ายพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจในการศึกษาพระไตรปิฎกเพื่อความเข้าใจอันดี ได้นา พระไตรปิฎกฉบับแปลคาต่อคาไปใช้ประโยชน์ในทาง วิชาการเกี่ยวกับพุทธศาสนาอย่างยั่งยืนต่อไป

ในรูปของการดำเนินกิจกรรม จะเป็นขั้นตอนของการดำเนินการการแปลพระไตรปิฎกแบบคา ต่อคำ ที่เป็นภาษาอังกฤษให้ครบ 45 เล่มพร้อมกันั้นนก็ทำการถ่ายทอดองคความรู้และเทคโนโลยีในกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในแบบของ onsite และonline อย่างละ 8 ครั้งโดยกำหนดว่าในประเทศไทยใช้แบบonsite และกับต่างประเทศใช้แบบออนไลน์ ซึ่งจากการดำเนินกิจกรรมนี้

ทางโครงการหวังว่าผลลัพท์ที่ได้คือสังคมไทยและสังคมโลก ได้นาองค์ความรู้จากฉบับแปลและคู่มือไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นผรผู้เข้าใจในพระธรรมวินัยมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้สังคมไทยและสังคมโลกมีการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ช่วยส่งเสริมสังคมให้เป็นสงคมของสันติสุข ยุติธรรม และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขบนโลกใบนี้สอดคล้องกับ SDGs ข้อ 16 ที่ว่าส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาทียั่งยืนให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพรับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ (Peace,Justic, and Strong Institutions)

หลักการและเหตุผล

จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับสังคมในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของ การดำรงชีวิตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวท้าให้สังคมของโลกในศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างจากในศตวรรษที่ 20 อย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่รุดหน้าและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ท้าให้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นชีวิตของโลกของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ก้าวสู่ความเป็นโลกาภิวัตน์อย่างสมบูรณ์ ท้าให้มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต ในอันจะก้าวสู่ ความเป็นสงคมแห่งปัญญาที่จะต้องแข่งขันกันในด้านความทันสมัยของการผลิตและความรารวยของ นวัตกรรมที่จะสร้างความมั่นคั่งในด้านเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีหลากหลาย และมีคุณภาพสูงในการเอื้อความสะดวกสบายให้กับชีวิต แต่สังคมโลก็กยังต้องเผชิญ ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่เป็นปัญหาความรุนแรงของการก่อการร้าย ปัญหาระบบเศรษฐกิจระหว่างและหลังการแพร่ระบาดโควิด -19 และปัญหาทางด้านสงคม ที่คนทุกช่วงวัยดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาเทคโนโลยีจน ก่อให้เกิดปัญหาความปลอดภัยจากการคุกคามของสื่อโซเชียลในรูปแบบต่าง ๆ ของอาชญากรรม เป็นอันตรายจากความเป็นส่วนตัวของโลกโซเชียลดังกล่าว

รวมทั้งปัญหาความรุนแรงทางด้านการเมืองที่แย่งชิงความเป็นใหญ่ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ท้าให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบที่ตามมา คือความไม่มั่นคงในชีวิต ความยากจนจากพิษการแข่งขันแย่งชิง และความถดถอยทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ท้าให้มนุษย์ในสงคมโลกแห่งศตวรรษที่ 21 จะต้องสร้างสมรรถนะและความสามารถในการปรับตัวให้ชีวิตสามารถด้ารงอยู่ได้ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงและท้านายได้ยาก (http ://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34764 เรียบเรียงโดย น้าโชค อุ่นเวียง)

จากปัญหาต่าง ๆ ที่มนุษย์เผชิญหน้าดังกล่าว ท้าให้องค์กรสหประชาชาติ (UN) ได้จัดประชุม ใหญ่ในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ.2558) ในการจัดท้าแผนพัฒนาสันติภาพและความผาสุขของประชาชนใน ประเทศสมาชิกทั่วโลก คือ “วาระ 2030 เพื่อพัฒนาทียั่งยืน (The 2030 Agenda for Sustainable Development-SDGs)” เป็นวาระที่ประกอบด้วยเป้าหมายหลัก 17 ข้อ ข้อสำคัญที่ควรกล่าวถึง คือข้อ 16 ว่าด้วยสันติสุข, ความยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง (Peace, Justice, and Strong Institutions) ซึ่ง ประกอบด้วย 10 เป้าหมายหลัก 2 เป้าหมายรอง และ22 ตัวชี้วัด ส้าหรับใช้ในการส่งเสริมให้สังคมในแต่ละประเทศเป็นสงคมที่สงบสุข เข้าถึงความยุติธรรมและมีสถาบันที่เข้มแข็งรับผิดชอบต่อชนชั้นทุกระดับ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวมีความเชื่อว่าจะช่วยสามารถสร้างสังคมที่มีประสิทธิภาพได้

ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่คนไทยในสงคมต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสื่อสังคมและเผชิญภัยพิบัติที่เกิดจากโรค ระบาดโควิด -19 เช่นกัน และได้พยายามแสวงหากลไกในการพัฒนาประเทศให้พ้นจากกับดักของภัย พิับติดังกล่าว โดยได้มีข้อกำหนด 2 ประการไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566-2570) ได้แก่ การกำหนดให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วย หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การสร้างความสามารถในการ “ล้มแล้วลุกไว” , การพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่ ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง และการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ซึ่งใน การพัฒนาดังกล่าว เป็นหนทางการปฎิบัติในพุทธศาสนา ดังนั้น จากค้าสอนพระพุทธองค์ หนทางและแนวทางแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองจะปรากฎอยู่ในคัมภีรพระสูตรทั้ง 25 เล่ม ที่มนุษย์สมควรศึกษาและน้าไปประยุกต์ใช้กับตนเองและกับสังคมรอบข้างได้ หากทุกคนในโลก ใบนี้ได้ศึกษาและเข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ความสงบสุขในชีวิตก็จะเกิดขึ้นกับทุกสังคมใน โลกได้

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นองค์กรที่ได้มองเห็นความสำคัญขององค์ความรู้ด้านสงคม ศาสนา และวัฒนธรรมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคุณธรรมจริยธรรมจากค้าสอนของศาสนาต่าง ๆในฐานะที่เป็นองค์กรของประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ จึงให้ความสนใจกับการศึกษา ท้าความเข้าใจและถ่ายทอดองคความรู้ทางพระพทธศาสนาเป็นประเด็นพิเศษ จึงได้ให้การสนับสนุนและจัดสรรทุนให้โครงการการจัดาการความรู้และถ่ายทอดองคความรู้และแนวปฏิบัติการท้าความเข้าใจ ตลอดจนเทคโนโลยีในการเผยแผ่มาโดยตลอดเป็น 3 ระยะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา โดยสนับสนุน ให้มีการแปลพระไตรปิฏกแบบค้าต่อค้า (Word-by-Word Tipitaka Translation) ให้กับคณะผู้ดำเนิน โครงการนี้ เป็นต้นมา พร้อมกับให้มีการจัดท้าคู่มือในการเผยแผ่พระธรรมค้าสอนส้าหรับกลุ่มเป้าหมาย ของโครงการในรูปของสื่อผสมส้าหรับการถ่ายทอดในระบบ Onsite และOnline ด้วย ซึ่งผลผลิตของ โครงการในช่วงระยะที่ 3 ได้มีการจัดท้าการแปลพระไตรปิฎกแบบค้าต่อค้าจากพระบาลีเป็นไทยครบ 45 เล่มปละเป็นภาษาอังกฤษ 23 เล่มจาก 45 เล่ม

จากการสนับสนุนการท้างานของการถ่ายทอดองคความรู้ เทคโนโลยี และกระบวนการของการเผยแผ่พรพุทธศาสนาดังกล่าว โครงการวิจัยและการจัดการความรู้จากคณะผู้ดำเนินงานข้างต้น จึงเห็น ว่าการจัดท้าค้าแปลค้าต่อค้าจากพระบาลีอักษรโรมันเป็นภาษาอังกฤษที่ดำเนินการไปแล้ว 23 เล่ม ควร จะได้มีการดำเนินการแปลให้แล้วเสร็จครบ 45 เล่ม พร้อมคู่มือให้ครบ 90 เล่มจะได้มีองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ส้าหรับพุทธศาสนิกชน และผู้สนใจศึกษาพระไตรปิฎกด้วยความเข้าใจในภาษาของพระบาลีทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งจะใช้เป็นบรรทัดฐานในการจัดแปลเป็นภาษาอื่น ๆ ต่อไปในวันข้างหน้าได้ รวมทั้งเป็นการต่อยอดการจัดโครงการพระไตรปิฏกศึกษาและเรียนรู้ภาษาบาลีอีกด้วย คณะผู้ดำเนินการแปลและถ่ายทอดจึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อน้าเสนอสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นระยะสุดท้ายของ โครงการ